ดอกไม้ไทย
ดอกไม้กับมนุษย์มีความเกี่ยวเนื่องกันมาโดยตลอด สำหรับคนไทยดอกไม้มีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่มาก ทั้งด้านศาสนา พิธีการต่างๆ เพื่อการสักการะบูชาสิ่งที่ตนเคารพ รวมทั้งการนำดอกไม้มาประดับตกแต่งภายในบ้าน สร้างบรรยากาศที่น่าอยู่ สบายใจ ความสดชื่น และความประทับใจต่อผู้มาเยือน รวมทั้งมีการนำดอกไม้ไปผสานกับวรรณกรรมต่างๆ จนขาดเสียมิได้ ไม่ว่าจะเป็นการชมพฤกษา การเปรียบเปรยตัวละครเอกด้วยชื่อดอกไม้ที่น่าทะนุทะนอม
ประเทศไทยที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางภูมิประเทศ ภูมิศาสตร์อันเหมาะในการเพาะปลูก ส่งผลให้มีพันธุ์ดอกไม้ต่างๆ มากมาย แต่อย่างไรก็ตามคนไทยในปัจจุบันนับว่าห่างจากธรรมชาติมาขึ้น เด็กไทยจำนวนไม่น้อยที่ไม่รู้จักชื่อ หรือพันธุ์ดอกไม้ที่เปรียบเสมือนวัฒนธรรมอันดีงามของชาติไทย เนื้อหาในส่วนนี้ ขอนำเสนอดอกไม้ไทย ที่ควรค่าต่อการศึกษากับทุกคนตลอดไป
ดอกไม้ไทย - เอื้องผึ้ง
เอื้องผึ้งเป็นกล้วยไม้ในตระกูลหวาย มีดอกเป็นช่อโค้งยาวสีเหลืองทอง โดยจะออกรอบก้านช่อประมาณเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ชอบยึดเกาะคาคบไม้ในที่โล่งและชื้น ช่อดอกที่ร้อยเรียงบนแกนกลาง และมีกลิ่นหอมอ่อนๆ บ่งบอกถึงความมั่งมีทางทรัพย์สิน ที่จะทวีขึ้นอย่างต่อเนื่องและตลอดไป
ดอกไม้ไทย - เขี้ยวกระจง
เขี้ยวกระจง หรือชื่อท้องถิ่นว่า คัดเค้าหนู, ลิเถื่อน มีช่อดอกสีขาวออกเป็นช่อกระจุกที่ปลาย หรือซอกใบใกล้ปลายกิ่ง โดยจะส่งกลิ่นตอนช่วงเย็น และหอมแรงมากขึ้นในช่วงกลางคืน ด้วยความที่เติบโตช้า เขี้ยวกระจงจึงเป็นเครื่องหมายแสดงความอดทน และทนทานของทั้งตัวต้นไม้และเจ้าของผู้ปลูกเลี้ยง
ดอกไม้ไทย - เดหลี
เดหลี ลำต้นฝังเป็นเหง้าอยู่ในดิน ก่อนจะแตกขึ้นมาเป็นกอด้านบน มีดอกเป็นจานสีขาวเพียงอันเดียวและมีแกนเกสรตั้งอยู่ตรงกลางเรียกว่า ปลี ชอบที่ร่มเงาหรือมีแสงน้อย จุดเด่นตรงดอกเดี่ยวซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะตัว สามารถสะท้อนถึงตัวเจ้าของที่มีความเด็ดขาด ซ่อนอยู่เบื้องหล้งภาพแห่งความนุ่มนวลได้อย่างชัดเจน
ดอกไม้ไทย - นมดำเรีย (โฮยา)
นมดำเรีย (โฮยา) เป็นไม้เถาอิงอาศัยขนาดเล็ก ช่อดอกสีขาว กลีบดอกแยกออกเป็น 5 แฉก โดยโคนจะมีสีม่วงแดง ให้กลิ่นหอมเย็นและบานอยู่ได้หลายวัน ด้วยความเจริญเติมโตอย่างว่องไว แถมแต่ละช่อยังประกอบด้วยดอกเล็กๆ มากมาย จึงกล่ายเป็นพันธุ์ไม้ดอกที่เสริมอำนาจวาสนา และให้บริวารยำเกรง
ดอกไม้ไทย - บัวหลวง
บัวหลวง เป็นไม้น้ำ มีเหง้าฝังตัวอยู่ในโคลนเลนหรือใต้ดิน ส่วนดอกนั้นมีสีขาวหรือสีชมพูชูขี้นเหนือน้ำ เป็นดอกไม้ในทางพุทธศาสนา ที่สะท้อนถึงคติธรรมเกี่ยวกับการจำแนกมนุษย์ ตามความรู้แจ้งเห็นจริง
ดอกไม้ไทย - บานบุรีหอม
บานบุรีหอม (บานบุรีแสด) เป็นไม้เถา ส่วนเปลือกมีสีเทา จุดเด่นคงอยู่ตรงดอกสีเหลืองอมแสด ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง มีกลิ่นหอมแรงในช่วงเช้า ความสะพรั่งของดอกที่มี 4-9 ดอกในแต่ละช่อ แถมยังบานไม้พร้อมกัน สื่อความหมายถึงการทำงานอย่างมีแบบแผน ถึงจะไปถึงความสำเร็จ
ดอกมะลิ
เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กที่มีความสูงไม่มากนัก สูงอย่างเต็มที่ส่วนใหญ่ไม่เกิน 2 เมตร ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ดอกมะลิได้รับความนิยมจากคนรักต้นไม้ให้เป็นตัวเลือกแรกที่จะปลูกไว้ในบ้าน มะลิเป็นไม้พุ่มที่แตกแขนงกิ่งก้านสาขาออกมามากมาย กิ่งอ่อนจะมีขนสั้น ๆ นุ่มมือใบ เป็นแบบใบเดี่ยวออกในลักษณะตรงข้ามกัน ใบค่อนข้างกลม ปลายใบมน สีเขียวเข้ม ดอกเป็นแบบดอกเดี่ยวหรือออกเป็นช่อก็ได้ โดยแต่ละช่อมี 2-3 ดอก กลีบเลี้ยงเป็นหลอดสีขาว กลีบดอกสีขาวนวลตา กลิ่นหอมอวล ไม่ฉุนจัดจนเกินไป เลี้ยงง่าย เติบโตไว
ต้นกระดังงา
ต้นกระดังงา เป็นไม้เลื้อยทรงพุ่มโปร่งขนาดกลาง ออกดอกตลอดทั้งปี มีใบเดี่ยวรูปวงรีลักษณะคล้ายปลายหอก กว้างประมาณ 5-7 เซนติเมตร ยาวประมาณ 13-20 เซนติเมตร ยามออกดอกจะออกเป็นช่ออยู่รวมกันเป็นกระจุกบริเวณซอกใบ กระจุกละ 4-6 ดอก กลีบดอกมีสีเหลืองอมเขียว ส่งกลิ่นหอมอ่อน ๆ ในช่วงเช้าและเย็นจะได้กลิ่นมากเป็นพิเศษ โดยจะเริ่มออกดอกเมื่อปลูกไว้ประมาณ 3 ปี ความสูงประมาณ 7-8 เมตร
ลีลาวดี
ลีลาวดี หรือ ลั่นทม เป็นไม้ดอกชนิดยืนต้นที่มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง เม็กซิโก แคริบเบียนและอเมริกาใต้ ในบ้านเรามีความเชื่อมาแต่โบราณว่ามีความเชื่อว่าไม่ควรปลูกต้นลั่นทมไว้ในบริเวณบ้าน เนื่องจากมีชื่ออัปมงคล เพราะไปพ้องกับคำว่า “ระทม” ซึ่งแปลว่า ความทุกข์ใจ เศร้าโศก นั่นเอง แต่ได้มีการเปลี่ยนมาเรียกชื่อใหม่แทนซึ่งก็คือ “ลีลาวดี” โดยเป็นชื่อพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งมีความหมายว่า “ดอกไม้ที่มีท่วงท่าสวยงามและอ่อนช้อย” และในปัจจุบันนี้ต้นลีลาวดีได้รับความนิยมและปลูกกันอย่างแพร่หลายไม่ว่าจะในบ้านหรือนอกบ้าน
ต้นจำปี
ต้นจำปี เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีอายุประมาณ 10-20 ปี ลำต้นสีน้ำตาลแตกเป็นร่องถี่ กิ่งเปราะ หักง่าย เวลาออกดอกจะออกเป็นเดี่ยวที่ซอกใบ ดอกยาวเรียว โดยกลีบดอกสีเหลืองครีม ประมาณ 8-12 กลีบ ยาว 4-6 เซนติเมตร มีกลิ่นหอมฟุ้ง นิยมนำมาร้อยมาลัย
ดอกพุทธรักษา
ต้นพุทธรักษา เป็นพรรณไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย แอฟริกา และอเมริกา และภายหลังได้กระจายพันธุ์ออกไปยังเอเชียเขตร้อน โดยจัดเป็นไม้ล้มลุกเนื้ออ่อน มีอายุหลายปี ขึ้นรวมกันเป็นกอและเป็นต้นเดี่ยวไม่แตกกิ่งก้านสาขา จะมีข้อแต่ค่อนข้างห่างกัน มีความสูงของลำต้นประมาณ 1.5-2.5 เมตร ลำต้นมีความเหนียวและอุ้มน้ำ มีเหง้าหัวสีขาวแตกแขนงอยู่ใต้ดิน (รากมีความเฉลี่ย 11.8 เซนติเมตร มีความยาวรอบรากเฉลี่ย 0.2 เซนติเมตร โดยความยาวของรากจะมีความสัมพันธ์กับขนาดของรากด้วย[6]) ส่วนของลำต้นเทียมบนดินจะเกิดจากใบเรียงซ้อนเป็นลำตรงกลม ทั้งต้นไม่มีขนปกคลุม แต่บางครั้งอาจพบผงเทียนไขปกคลุม ขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อและวิธีการเพาะเมล็ด (แต่วิธีที่นิยมใช้และได้ผลดีคือวิธีการแยกหน่อ) ชอบดินเหนียวชุ่มชื้นและมีอินทรีย์วัตถุสูง หรือที่ระดับน้ำ 10-20 เซนติเมตร ชอบแสงแดดแบบเต็มวันถึงครึ่งวัน พุทธรักษาเป็นพันธุ์ไม้ที่มีการกระจายพันธุ์อยู่ในป่าเมืองไทยหลายชนิด โดยส่วนใหญ่มักจะพบขึ้นตามป่าดงดิบ ป่าดงดิบแล้งในที่ลุ่ม หรือตามลำห้วย